HDPE PE80 กับ PE100 ต่างกันอย่างไร

hdpe

ท่อHDPEบางคนอาจจะไม่ค่อยได้ยินชื่อนี้กันเท่าไหร่นักเนื่องจากเป็นท่อที่ไม่นิยมใช้กันตามบ้าน แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วท่อHDPEนั้นใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด น้ำประปาที่เราใช้กันทุกวันนี้ส่วนมากจะผ่านการลำเลียงมากจากท่อHDPEซึ่งหน่วยงานการประปาของไทยได้ใช้เป็นวัสดุหลักในการติดตั้งท่อน้ำ ในบทความนี้ลองทำความเข้าใจดูว่าท่อHDPEประเภท80และ100 มีความแตกต่างกันอย่างไร

0 0
Read Time:3 Minute, 3 Second

ด้วยคุณสมบัติของท่อพีอีที่มีความสามารถในการรับแรงดันที่สูงโดยที่ตัวท่อมีลักษณะที่ยืดหยุ่นให้ตัวได้เวลากำหนดชั้นคุณภาพที่จะใช้งานจึงจะต้องระบุความสามารถในการรับแรงดันของตัวท่อ (PN) และความแข็งแรงในการรับน้ำหนักของตัววัสดุ (PE) ไว้ 2 อย่างควบคู่กัน คือ ต้องระบุขอบเขตในการรับแรงดันน้ำในเส้นท่อได้ และตัวท่อก็ต้องมีความแข็งแรงที่จะรับน้ำหนักกับสภาพแวดล้อมภายนอกในบริเวณที่จะติดตั้งท่อด้วย เนื่องจากเรามักจะใช้งานท่อพีอีเป็นท่อฝังดินเนื่องจากมีลักษณะเป็นม้วนทำให้มีรอยต่อน้อย ตัวท่อจึงต้องระบุคุณสมบัติการรับน้ำหนักแรงกดทับท่อเอาไว้พิจารณาในการเลือกใช้ด้วย โดยจะระบุชั้นคุณภาพไว้ที่ตัวท่อเลย เช่น “HDPE PN10 PE80”

ระดับชั้นคุณภาพของวัสดุโดยใช้เกณฑ์ในการรับน้ำหนัก (PE)นั้นเป็นการแบ่งตามชนิดเม็ดพลาสติกที่ชั้นคุณภาพต่างกันมาผลิต หากเปรียบเทียบคุณสมบัติกันระหว่าง PE100 และ PE80 เพื่อให้ทราบคุณสมบัติที่ดีขึ้น พอสรุปให้พอเข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้

  • ที่ขนาดท่อ และความหนาท่อเท่ากัน ชั้นคุณภาพ PE100สามารถรับแรงดันได้สูงกว่า PE80
  • ที่ขนาดท่อ และความสามารถในการรับแรงดัน (PN)เท่ากัน ชั้นคุณภาพ PE100 จะมีผนังท่อบางกว่า PE80
  • ที่ขนาดท่อ และความสามารถในการรับแรงดัน (PN)เท่ากัน ชั้นคุณภาพ PE100จะมีน้ำหนักท่อต่อเมตรน้อยกว่า PE80
  • ที่ขนาดท่อ และความสามารถในการรับแรงดัน (PN)เท่ากัน ชั้นคุณภาพ PE100 จะมีพื้นที่การไหลในเส้นท่อมากกว่า PE80(เนื่องจากผนังท่อบางกว่า แต่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากัน)
  • ที่ขนาดท่อ และความสามารถในการรับแรงดัน (PN)เท่ากัน ชั้นคุณภาพ PE100 จะสามารถฝังดินได้ลึกกว่า PE80
  • ที่ขนาดท่อ และความสามารถในการรับแรงดัน (PN)เท่ากัน ชั้นคุณภาพ PE100 จะสามารถรับแรงดันได้เท่ากับ PE80 ที่อุณหภูมิต่างๆ กัน
  • ที่ขนาดท่อ และความสามารถในการรับแรงดัน (PN) เท่ากัน เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความสามารถในการรับแรงดันของชั้นคุณภาพPE100 มีอัตราส่วนลดลงเช่นเดียวกันกับ PE80

ท่อเอชดีพีอีมีความคงทนมากกว่าท่อพีวีซี แต่ที่ยังไม่เป็นที่นิยมใช้งานก่อสร้างบ้านทั่วไปมากนัก เนื่องจากราคาของท่อเอชดีพีอีที่สูงกว่าท่อพีวีซีอยู่มากกว่า 30% และความยุ่งยากในการติดตั้งก็มากกว่า เนื่องจากท่อเอชดีพีอีต้องใช้เครื่องมือในการเชื่อมต่อท่อในขณะที่ท่อพีวีซีใช้เพียงน้ำยาประสานท่อทาบริเวณรอยต่อแล้วสวมข้อต่อท่อได้ทันที ด้วยความยุ่งยากในการทำงานที่เฉพาะเจาะจงจึงต้องเป็นช่างประปาเฉพาะทางจึงจะสามารถติดตั้งท่อเอชดีพีอีได้

การต่อท่อพีอีนั้นทำได้ 2 วิธี วิธีแรก คือ การเชื่อมท่อด้วยความร้อน ซึ่งเป็นเทคนิคการให้ความร้อนแก่ท่อที่จะทำการเชื่อมพร้อมๆกันทั้งสองด้านของชิ้นงานจนพลาสติกที่หลอมมาสัมผัสกันที่บริเวณผิวแต่ละด้าน การได้รับความร้อนต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นั้นทำให้ผิวของท่อเกิดการหลอมละลายทำให้ผนังของท่อหลอมเหลวและรวมเป็นเนื้อเดียวกัน การเชื่อมท่อด้วยความร้อนนี้จะมีแถบเชื่อมเกิดขึ้นทั้งด้านใน และด้านนอกของท่อเรียกว่า weld beads ซึ่งแถบเชื่อมที่อยู่ด้านในท่อนี้อาจเป็นที่สะสมของคราบตระกรันเมื่อของเหลวไหลผ่านไปนานๆ ได้ วิธีที่ 2 คือ การเชื่อมต่อด้วยข้อต่อชนิดพิเศษแบบสวมอัดที่ถูกออกแบบมาใช้เฉพาะกับท่อพีอี โดยข้อต่อจะใช้การสวมอัดและขันเกลียวให้แน่น โดยไม่ต้องใช้กาวหรือเทปพันเกลียว

**ขอบคุณบทความดีๆจากTPA news ฉบับที่205 เดือนมกราคม ปี2014 คอลัมน์”คบเด็กสร้างบ้าน” http://www.tpa.or.th/tpanews/ อ่านบทความฉบับเต็มได้ กดที่นี่

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
gate vs ball valve Previous post วาล์วประตูน้ำและบอลวาล์ว การใช้งานต่างกันอย่างไร
ท่อ PP-R Next post ทำความรู้จัก ท่อPP-R (ท่อสีเขียว)
Close

บทความล่าสุด