ท่อไซเลอร์(SYLER) คือท่อเหล็กชุบสังกะสีClass M ภายในบุด้วยสารพีอี(PE) ใช้สำหรับทดแทนท่อเหล็กประปาทั่วไป(Galvanized steel pipe)ที่ต้องการเพิ่มความมั่นใจเรื่องอายุการใช้งาน ท่อเหล็กประปานั้นมีความแข็งแรงมากก็จริง แต่ถ้าหากต้องอยู่ในแสงแดดหรือเปียกน้ำอยู่บ่อยๆ โอกาสที่จะเกิดสนิมก็มีความเป็นไปได้
ภายนอกท่อไซเลอร์จะถูกเคลือบด้วยผงโพลีเอทิลีน(PE powder coated) เพื่อป้องกันสนิมจากภายนอกอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้มั่นใจได้ว่าท่อไซเลอร์จะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าท่อเหล็กชุบสังกะสี(Galvanized steel pipe) เนื่องจากยากที่จะเกิดสนิมจากภายนอก ภายในท่อไซเลอร์ (SYLER)ถูกบุด้วยพลาสติกโพลีเอทิลีน(PE) เพื่อป้องกันการเกิดสนิม เนื่องจากน้ำภายในท่อจะไม่สัมผัสกับท่อเหล็กโดยตรง ท่อไซเลอร์(SYLER) มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.) แบบธรรมดา (ไส้สีขาว – TYPE C , CLASS M (MEDIUM)) เป็นท่อธรรมดาและน้ำเย็น ใช้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 60 °C ขนาดตั้งแต่1/2″- 8″ รับแรงดันสูงสุดไม่เกิน50Bar
2.) แบบสำหรับน้ำร้อน (ไส้สีแดง – TYPE H , CLASS M (MEDIUM)) เป็นท่อน้ำร้อน ใช้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 90 °C ขนาดตั้งแต่1/2″- 8″ รับแรงดันสูงสุดไม่เกิน50Bar
การเชื่อมต่อท่อไซเลอร์ แนะนำติดตั้ง 2 วิธี ได้แก่ แบบกรู๊ฟGrooved และ แบบทำเกลียว โดยแบบกรู๊ฟจะมีวิธีการติดตั้งที่ง่าย ไม่เกิดประกายไฟ สามารถปรับเส้นทางแนวท่อได้ง่าย
จุดเด่นของระบบ Grooved Coupling
- ติดตั้งง่าย สะดวกรวดเร็ว ทำให้ประหยัดทั้งค่าแรง และเวลาในการติดตั้ง นอกจากนี้ยังคล่องตัว รองรับการออกแบบที่หลากหลายตามสภาพหน้างาน
- สามารถโยกย้าย เปลี่ยนแปลงรูปแบบการติดตั้ง หรือขยายไลน์ท่อเพิ่มเติมรวมทั้งถอดทำความสะอาด และประกอบเข้าใหม่ได้ง่าย
- สามารถรับแรงสั่นสะเทือน แรงกดจากแผ่นดินไหว อีกทั้งสามารถดูดซับเสียงได้ดี
- รับแรงดันได้สูง 300-735psi (การทนแรงดันจะขึ้นอยู่กับรุ่นของCouplingที่เลือกใช้)
- ข้อต่อมีPEเคลือบผิวด้านใน คงคุณสมบัติเด่นของท่อไซเลอร์ไว้ครบถ้วนจึงมั่นใจว่าน้ำที่ไหลผ่านจะปลอดสนิมอีกทั้งแข็งแรง ทนทาน อายุการใช้งานยาวนาน
*การGroovedท่อSyler ต้องใช้เครื่องGroovedของSylerเท่านั้น โดยเครื่องสามารถขอเช่าได้หากผู้สนใจท่านใดมีความต้องการใช้งานในช่วงระยะเวลาไม่นาน
การต่อท่อด้วยข้อต่อไซเลอร์แบบทำเกลียว
มีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
- การตัด ควรตัดท่อให้ได้ฉาก90องศา ด้วยเครื่องมือที่ไม่ก่อให้เกิดความร้อนจนทำให้พลาสติดบุพีอีด้านในละลาย
เครื่องมือตัดที่แนะนำ – เลื่อย เลื่อยอัตโนมัติ ใบมีดในเครื่องต๊าป เครื่องตัดแบบเลื่อยสายพาน เลื่อยวงเดือน - การขูด หรือการแต่งปลายท่อ
ควรใช้เครื่องมือคว้านท่อ หรือที่คว้านท่อที่ติดตั้งในเครื่องต๊าป เพื่อกำจัดส่วนที่ไม่เรียบ ซึ่งหากไม่ทำการแต่งปลายท่ออาจมีผลทำให้พลาสติกด้านในข้อต่อเสียหายจนไปขวางการไหลของน้ำให้ลดน้อยลงได้เช่นกัน - การทำเกลียว
ควรทำเกลียวเพื่อให้ได้ความยาวเกลียวตามมาตรฐาน เพื่อให้การป้องกันการรั่ว และการป้องกันการเกิดสนิมของท่อและข้อต่อ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ - การประกอบและการขันท่อ
หลังจากทำเกลียว ควรนำเศษเหล็ก น้ำมันต๊าป หรือสารหล่อเย็น ที่ตกค้างในท่อออกไปให้หมด เพื่อป้องกันไม่ใช้เกินสนิมจากเหล็กที่ตกค้างในท่อ และป้องกันไม่ให้มีกลิ่น อันเนื่องมาจากน้ำมันเครื่องต๊าป หรือสารหล่อเย็นที่ค้างอยู่ภายในท่อ นอกจากนี้เพื่อให้การป้องกันการรั่ว และการป้องกันการเกิดสนิมบริเวณที่ทำเกลียวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ให้ทาบริเวณเกลียวของท่อ และข้อต่อรวมทั้งหน้าตัดท่อด้วยกาวเฮอร์เมสซีล55 หรือพันบริเวณที่ทำเกลียวด้วยเทปพันเกลียว หรือใช้ด้ายสายสิญจน์ และทำการขันท่อตามกำหนด - ขั้นตอนหลังจากติดตั้งเสร็จ
หลังจากการเชื่อมต่อเสร็จสมบูรณ์ ซ่อมแซมส่วนที่มีตำหนิบนท่อและข้อต่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเกลียวด้วยสีกันสนิม หรือสารเคลือบป้องกันสนิม เพื่ออายุการใช้งานที่ยืนยาวที่สุด - การทำความสะอาดระบบท่อน้ำภายหลังการติดตั้ง
ควรปล่องให้น้ำไหลเพื่อทำความสะอาดด้านในท่อ ฆ่าเชื้อด้วยส่วนผสมของคลอรีน ค้างไว้ไม่ต่ำกว่า24ชม. แล้วล้างท่อด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
**ศึกษาวิธีการติดตั้งพร้อมภาพประกอบเพิ่มเติมได้ที่ แคตตาล๊อคท่อไซเลอร์
แคตตาล๊อคสินค้า ท่อเหล็กบุพีอี ตราไซเลอร์
ใบราคาสินค้า ท่อเหล็กบุพีอี ตราไซเลอร์