สายดิน (Ground) มีไว้ทำไม

แท่งหลักดิน

สำหรับระบบสายดินในระบบไฟฟ้าของบ้านพักอาศัย หรือแม้แต่อาคารอื่นๆก็ตาม ระบบสายดินที่มี จะเป็นสายดินที่สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการต่อลงพื้นดิน และเพื่อให้ระบบสายดินมีความสมบูรณ์ใช้งานได้จริงตามมาตรฐาน จะต้องมีการติดตั้งระบบสายดินและการต่อลงดินด้วยวิธีการและรูปแบบที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

0 0
Read Time:2 Minute, 42 Second

เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดจะมีไฟรั่วอ่อนๆเป็นปรกติ เช่น คอมเพรสเซอร์แอร์ หรือ เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้า หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด ซึ่งหากร่างกายไปสัมผัสกับอุปกรณ์เหล่านี้ อาจเกิดอันตรายได้ สายดินจะนำกระแสที่รั่วให้ไหลลงดินไปก่อนหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว จึงไม่เกิดอันตรายกับร่างกาย หรือเกิดอันตรายน้อยลง

สำหรับแท่งหลักดิน(Ground rod) ที่นำมาใช้เป็นหลักดิน แบบที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย จะมีรูปแบบเป็นแท่งโลหะกลม(ทรงกระบอก)ซึ่งทำมาจากโลหะปลอดสนิม ในการติดตั้งทั่วไปนั้นจะใช้เป็นแท่งทองแดงหรือเป็นแท่งเหล็กหุ้มภายนอกด้วยทองแดง หลักดินตามมาตรฐานที่กำหนดนั้น จะต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 16 มิลลิเมตร (5/8 นิ้ว) และมีความยาวไม่น้อยไปกว่า 2.4 เมตร

ภาพการต่อแท่งหลักดิน เข้ากับ สายต่อหลักดิน

ปรกติแล้วสายดินจะถูกเชื่อมต่อกับแท่งโลหะซึ่งฝังลึกลงไป 1-1.8เมตร ความต้านทานของสายดินควรต่ำกว่า 5 โอห์ม หากในบ่อมีน้ำขังจะทำให้ความต้านทานต่ำลงอีก

สายดิน G คือสายที่มีลักษณะ สายไฟสีเขียวแถบเหลือง

การติดตั้งหลักดิน

การติดตั้งหลักดินนั้น จะต้องทำการตอกลงไปในพื้นดินโดยตอกลงไปตรงๆในแนวดิ่ง แต่หากในพื้นดินที่ตอกหลักดินลงไปมีวัตถุหรือสิ่งกีดขวางที่แข็งและไม่สามารถตอกหลักดินให้ทะลุลงไปตรงๆได้ กรณีนี้มาตรฐานได้อนุโลมให้ทิศทางที่ตอกลงไปในดิน สามารถเอียงไปได้ไม่เกิน 45 องศา หรืออาจใช้วิธีการขุดดินแล้วฝังแท่งหลักดินลงไปในแนวราบที่ความลึกไม่น้อยกว่า 0.75 เมตร

ภาพแท่งหลักดินหลังการติดตั้ง

ก่อนติดตั้งแท่งหลักดิน ต้องทำการสำรวจพื้นที่ ที่ต้องการจะติดตั้งหลักดินเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีวัตถุหรือสิ่งกีดขวางฝังอยู่ ซึ่งสิ่งกีดขวางที่ฝังอยู่อย่างเช่นโครงสร้างหรือฐานรากอาคาร จะทำให้ไม่สามารถตอกหลักดินผ่านลงไปได้

บริเวณพื้นที่ที่จะทำการตอกหลักดิน หากเลือกได้ควรเลือกติดตั้งในบริเวณที่มีลักษณะเป็นดินที่มีความชื้นหรือเปียก เพราะความต้านทานที่มีอยู่จะต่ำกว่าบริเวณดินที่แห้งและร่วน

ก่อนตอกหลักดินลงไปในดินควรทำความสะอาดหลักดิน ให้ปราศจากคราบไขมันหรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่บนผิวของหลักดิน

จากนั้นจึงทำการตอกหลักดินลงไปตรงๆในแนวดิ่งด้วยค้อนที่มีขนาดและน้ำหนักเหมาะสม และตอกลงไปจนหลักดินเกือบจะจมสุดโดยให้มีส่วนที่โผล่ขึ้นมาเพียงเล็กน้อย พอให้ต่อสายได้

สำหรับบ้านที่มีพื้นที่นอกตัวบ้าน ควรทำเป็นหลุมหรือบ่อพักคอนกรีตที่มีฝาปิด โดยขุดให้ต่ำลงไปกว่าระดับพื้นปกติพอประมาณ แล้วทำเป็นบ่อพักคอนกรีตครอบจุดที่ติดตั้งหลักดินไว้ เพื่อเป็นการสะดวกในการตรวจสอบหรือเซอร์วิสในอนาคต


จุดบริเวณที่ควรมีการต่อสายดิน

บริเวณที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น ห้องน้ำ (เครื่องทำน้ำอุ่น) ห้องครัว อ่างล้างหน้าและมือ สระว่ายน้ำ ปั๊มสูบน้ำบ่อเลี้ยงปลา

การใช้ไฟฟ้านอกอาคาร ทั้งชั่วคราวและถาวร เช่น ในสวน สนามหญ้า โรงรถ กริ่งหน้าบ้าน การก่อสร้างซ่อมแซมต่างๆ

อื่นๆ เช่น สถานที่มีเด็กเล็ก

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=kanichikoong&month=09-04-2014&group=17&gblog=15

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %
Load center Chopanich Previous post ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load center)
Next post กาวประสานท่อpvc หนึ่งกระป๋องต่อได้กี่จุด
Close

บทความล่าสุด