0 0
ความรู้เบื้องต้นเรื่องสายไฟ สำหรับอาคารและบ้าน | ช.พานิช Chopanich

ความรู้เบื้องต้นเรื่องสายไฟ สำหรับอาคารและบ้าน

Read Time:4 Minute, 43 Second

สายไฟฟ้า

สายไฟฟ้า คือ วัสดุที่ประกอบไปด้วยธาตุโลหะที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี เนื่องจากเนื้อโลหะที่มีความแข็งและเหนียว โดยเฉพาะทองแดงที่สามารถนำมาแปรรูปได้ตามต้องการ สายไฟแต่ละชนิดจะได้รับการออกแบบแตกต่างกันออกไปตามโครงสร้างและคุณสมบัติการใช้งาน เช่น

  • สายที่ประกอบไปด้วยตัวนำไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว (Conductor)
  • สายที่ประกอบด้วยฉนวนหุ้มตัวนำไฟฟ้า(Insulation)
  • สายที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มหรือชั้นป้องกันเสริมเป็นส่วนประกอบอยู่ภายใน(Sheath)

สายไฟที่นิยมใช้กันในบ้าน-อาคารได้แก่THW, VAF, VCT

  • THWเส้นเมนเดินร้อยท่อ
  • VAFเกาะลอยตามผนังประหยัดท่อ
  • VCTบนรางจัดสายง่าย
  • NYYฝังดินภายนอก

ส่วนประกอบของสายไฟฟ้า

1. ตัวนำไฟฟ้า (Conductor)

ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าหรือสัญญาณไฟฟ้า ตัวนำไฟฟ้าทำจากโลหะที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำและมีค่าความนำไฟฟ้าสูง ซึ่งโลหะที่นิยมใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้าได้แก่ ทองแดง และอลูมิเนียม โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้

ทองแดง เป็นโลหะที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงมาก (สูงเป็นอันดับสองรองจากโลหะเงิน) มีความแข็งแรง สามารถนำมารีดเป็นเส้นลวดขนาดเล็ก และดัดโค้งงอได้โดยไม่เปราะหักง่าย นำความร้อนได้ดี แต่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก และราคาสูงกว่าอลูมิเนียม ดังนั้นจึงนิยมใช้ทองแดงเป็นตัวนำไฟฟ้าสำรหับสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งในอาคารและติดตั้งใต้ดิน (Underground cable)

ตัวอย่างสายไฟทองแดง

อลูมิเนียม มีค่าการนำไฟฟ้าต่ำกว่าทองแดง (ประมาณ 62% ของทองแดง) แต่เปราะหักได้ง่ายกว่าจึงไม่สามารถรีดเป็นเส้นลวดขนาดเล็กมากได้ อลูมิเนียมมีข้อได้เปรียบทองแดงคือมีน้ำหนักเบากว่ามาก (อลูมิเนียมมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของทองแดงที่ปริมาตรเท่ากัน) และราคาถูกกว่า ดังนั้นอลูมิเนียมจึงเหมาะสำหรับทำเป็นตัวนำของสายไฟฟ้าที่ติดตั้งแบบแขวนลอยในอากาศ เช่นสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเหนือพื้นดินที่ต้องเดินเป็นระยะทางไกล ทำให้การลงทุนในสายส่งและโครงสร้างเสาและอุปกรณ์รับน้ำหนักน้อยลงจากน้ำหนักที่เบากว่าของสายตัวนำอลูมิเนียม และเนื่องจากอลูมิเนียมเปราะหักได้ง่ายกว่าทองแดง ดังนั้นจึงไม่นิยมใช้ทำเป็นตัวนำสายตีเกลียวหรือสายอ่อนขนาดเล็กและตัวนำที่ติดตั้งในอาคารซึ่งต้องการการดัดโค้งของสายในการติดตั้งมากกว่า

ตัวอย่างสายไฟ Aluminium ภาพจากS.Super cable

2. ฉนวน (Insulation)

ทำหน้าที่ป้องกันกระแสไฟฟ้าไม่ให้ไหลผ่านไปยังส่วนอื่นๆที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ เช่นไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ฉนวนส่วนใหญ่ทำจากพลาสติกโพลีเมอร์หรือยางที่มีคุณสมบัติทนความร้อนและป้องกันของเหลวไหลผ่านสามารถป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านได้  วัสดุที่ใช้ทำฉนวนมีด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้มากที่สุด คือ โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride: PVC) และ ครอสลิงค์ โพลีเอททีลีน (Cross-Linked Polyethylene: XLPE)

ฉนวน PVC มีความนิ่มและอ่อนตัว สามารถดัดโค้งงอได้ง่าย นิยมใช้เป็นฉนวนสายแรงดันต่ำ โดยเฉพาะสายที่ใช้ติดตั้งในอาคารเนื่องจาก PVC มีคุณสมบัติต้านทานการลุกไหม้ไฟในตัวเอง ฉนวน PVC ใช้กับสายไฟฟ้าที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุด 70 oC

ฉนวน XLPE ผลิตโดยการทำให้ โพลีเอททีลีน (PE) เกิดปฏิกิริยาเคมีเปลี่ยนเป็นครอสลิงค์ โพลีเอททีลีน (XLPE) ซึ่งมีความแข็งแรงและทนความร้อนได้มากขึ้น ฉนวน XLPE ใช้กับสายไฟฟ้าที่มีพิกัดอุณหภูมิตัวนำสูงสุด 90 oC นิยมใช้เป็นฉนวนสายไฟฟ้ากำลัง โดยเฉพาะสายไฟฟ้าแรงดันสูง ฉนวน XLPE มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า PVC ได้แก่ ทนอุณหภูมิได้สูงกว่า มีความแข็งแรงมากกว่า ความต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า ป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดีกว่า แต่มีข้อเสียคือเมื่อติดไฟแล้วจะลุกลามไฟได้อย่างรวดเร็ว จึงไม่นิยมใช้สายไฟฟ้าฉนวน XLPE ติดตั้งในอาคาร ยกเว้นแต่เป็นสายที่ออกแบบให้ผ่านการทดสอบการลุกลามไฟเป็นพิเศษ

ตัวอย่างภาพฉนวน ภาพจาก Yazaki

3. เปลือกนอก (Sheath)

เปลือกนอก หรือ Over Sheath คือ พลาสติกโพลิเมอร์ที่อยู่ชั้นนอกสุดของสายไฟฟ้า ทำหน้าที่ปกป้องสายไฟฟ้าจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น การขูดขีดระหว่างติดตั้ง แรงกระแทกกดทับ แสงแดด น้ำและความชื้น และการกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น

PVC มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฉนวนพีวีซีเหมาะกับสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งภายในอาคาร

PE มีความแข็งแรงสูง ทนต่อการขูดขีดและแรงกระแทกกดทับได้ดี และป้องกันการซึมผ่านของน้ำได้ดี แต่มีข้อเสียเรื่องการลุกลามไฟเช่นเดียวกับฉนวน XLPE ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเปลือกของสายที่ใช้ติดตั้งใต้ดิน

LSHF (Low Smoke Halogen Free) พัฒนาขึ้นสำหรับสายไฟฟ้าที่ใช้ติดตั้งในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเปลือก LSHF มีคุณสมบัติต้านทานการลุกลามไฟ ควันน้อยและไม่ปล่อยก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดเมื่อถูกไฟไหม้ มีข้อเสียคือ ความแข็งแรงไม่สูงมากเท่า PVC และ PE และไม่เหมาะกับการติดตั้งแบบฝังดิน เนื่องจากมีการดูดซึมความชื้นสูง

ตัวอย่างภาพแสดงเปลือกนอก Sheath ภาพจากYazaki

ชื่อเรียกสายไฟที่ช่างนิยมเรียก

  • สายเดี่ยว หรือ สายกลม หมายถึง สายไฟ THW
  • สายตีกิ๊ฟ หรือ สายแบน หมายถึง สายไฟ VAF
  • สายฝังดิน หมายถึง สายไฟ NYY
  • สายอ่อน สายฝอย หมายถึง สายไฟ VCT
  • สายคอนโทรล หมายถึง สายไฟ VSF และ CVV
ภาพหน้าตัดสายไฟ ขอบคุณ pdcable.com

ขอบคุณข้อมูลความรู้ดีๆจาก pdcable.com

สอบถามและสั่งซื้อสินค้าได้ที่ ช.พานิช งานระบบ ครบ จบที่เดียว

แคตตาล็อคสินค้าสายไฟTHW ตราYazaki และดูสายประเภทอื่นได้ที่หน้ารวม

แคตตาล็อคสินค้าสายไฟ ตราเฟ้ลปส์ ดอด์จ

แคตตาล็อคสินค้าสายไฟ ตราเอส.ซุปเปอร์เคเบิ้ล

Happy
0 0 %
Sad
0 0 %
Excited
0 0 %
Sleepy
0 0 %
Angry
0 0 %
Surprise
0 0 %
webadmin

Recent Posts

โฆษณา ช.พานิช ขยับเข้าไปใกล้อีกนิด

https://youtu.be/F2hZEo914dgVDO โฆษณา ช.พานิช ขยับเข้าไปใกล้อีกนิดไม่ว่าจะอยู่ไซต์งานไหน ก็พร้อมให้บริการอย่างใกล้ชิด มองหา ท่อ หรืออุปกรณ์งานระบบ ประปา ไฟฟ้า เกษตร พร้อมจัดส่งของให้รัวๆ จากทั้ง 4 สาขา…

1 month ago

ช.พานิช เปิดสาขาใหม่ บ่อวิน จ.ชลบุรี

ลูกค้าสามารถซื้อสินค้างานระบบประปา ไฟฟ้า เกษตร ขายปลีก-ส่ง ราคาถูกได้แล้วที่ร้านช.พานิช สาขาบ่อวิน หรืออยากให้ทางร้านส่งสินค้าให้ฟรีเพียงยอดซื้อครบ3,000บาท หรือยอดไม่ถึงมีค่าส่งเพียง 69 บาทเท่านั้น! ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/MpWjqXLLf5iiEJqn6 อยู่ในปั๊มน้ำมันShellบ่อวิน หน้าMakroและไทวัสดุบ่อวิน

3 months ago

ช.พานิช เปิดสาขาใหม่ หลานหลวง กทม.

ลูกค้าสามารถซื้อสินค้างานระบบประปา ไฟฟ้า เกษตร ได้แล้วที่ร้านช.พานิช สาขาหลานหลวง หรืออยากให้ทางร้านส่งสินค้าให้ฟรีเพียงยอดซื้อครบ3,000บาท หรือยอดไม่ถึงมีค่าส่งเพียง 69 บาทเท่านั้น! ราคาวัสดุถูกสุดๆ!

1 year ago

ใหม่ คลิปก้ามปู-ร้อยสาย เหลือง เอสซีจี SCG

สำหรับงานร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์

2 years ago

ข้อต่อพีวีซี ฉากกั้น สีขาว เอสซีจี

สำหรับงานต่อประกอบอเนกประสงค์ สามารถใช้ต่อกับท่อสีขาว เพื่อทำฉากกั้นCovid

2 years ago

ใหม่ อุปกรณ์รางครอบท่อแอร์ เอสซีจี

ข้อต่อข้ามคาน และ ฝาครอบเพดาน งานแอร์ สินค้าใหม่จากท่อเอสซีจี

2 years ago

This website uses cookies.